061-946-9586 จันทร์-ศุกร์ : 17:00 - 20:00 น. / เสาร์-อาทิตย์ : 10.00-18.00 น.



✨ ฟันผุคืออะไร? อันตรายมั้ยนะ?

ฟันผุ คือ โรคในช่องปากชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มักไม่แสดงอาการ โดยส่วนใหญ่คนไข้จะพบฟันผุด้วยตนเองเมื่ออ้าปากแล้วเห็นเป็นรอยเดำๆ ที่ฟันหรือเห็นฟันผุเป็นรู ในคนไข้บางรายอาจจะมีอาการปวดหรือเสียวฟันเวลาที่มีเศษอาหารติดหรือเวลาที่ทานอาหารที่มีรสจัดรวมถึงของหวานด้วย หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาฟันผุอาจลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟันทำให้มีอาการปวดมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืนและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อไปยังปลายรากฟันและบริเวณอื่นๆ ของใบหน้าและขากรรไกรได้

การรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ เพราะน้ำตาลในอาหารเหล่านี้ล้วนเป็นอาหารของแบคทีเรียในช่องปาก เมื่อมีการสะสมของน้ำตาลในปริมาณมากๆ แบคทีเรียในช่องปากจะทำปฏิกิริยากับน้ำตาล ก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มคลุมอยู่บนผิวฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ

ฟันผุมีความรุนแรงหลายระดับ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 : จะพบคราบขาวขุ่นที่ฟัน เกิดจากแบคทีเรียในช่องปากทำปฏิกิริยากับน้ำตาล เกิดกรดที่ สามารถทำลายผิวเคลือบฟันได้ มักไม่มีอาการ
ระยะที่ 2 : มองเห็นอาการผุที่ผิวเคลือบฟัน โดยมักจะเห็นเป็นรอยดำๆ ที่ฟัน ในคนไข้บางรายอาจมี อาการเสียวฟันร่วมด้วยได้
ระยะที่ 3 : พบการผุที่เนื้อฟัน (Dentin) มักพบฟันผุเป็นรู ส่วนใหญ่คนไข้มักมีอาการเสียวฟันร่วมด้วย โดยเฉพาะเวลาที่เศษอาหารติดหรือเวลาทานอาหารที่มีรสหวาน ร้อนจัดหรือเย็นจัด
ระยะที่ 4 : พบการผุที่โพรงประสาทฟัน (Dental pulp) คนไข้มักมาด้วยอาการปวดมาก โดยเฉพาะ เวลากลางคืน อยู่เฉยๆ ก็มีอาการปวด และเมื่อทานยาแก้ปวดอาการจะทุเลาลงเพียงเล็ก น้อย แต่เมื่อยาแก้ปวดหมดฤทธิ์อาการปวดก็จะกลับมาเป็นอีก ซึ่งฟันผุในระดับความ รุนแรงนี้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟัน หากต้องการเก็บฟันซี่ที่ปวดนี้จำเป็นต้องรักษา รากฟัน ทำเดือยฟันและครอบฟัน เพื่อให้สามารถใช้ฟันซี่นี้บดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่ต้องการเก็บฟันซี่นี้ไว้ก็อาจพิจารณาถอนออก แล้วใส่ฟันปลอมทดแทนได้



🦷 ฟันซี่ไหนเสี่ยงจะผุได้ง่ายบ้าง?

ฟันที่มักเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย ก็คือ ฟันกราม ซึ่งเป็นฟันแท้ซี่แรกที่ขึ้นในช่องปากและเป็นซี่ที่ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารเป็นหลัก จึงมีโอกาสที่จะแตกหักจากการบดเคี้ยวของแข็งได้ง่าย นอกจากนี้ยังเป็นฟันซี่ที่ทำความสะอาดได้ยากและไม่ค่อยทั่วถึงโดยเฉพาะด้านหลังของฟันกรามซี่สุดท้ายในสุด จึงส่งผลให้ฟันกรามมีโอกาสผุได้ง่ายมากขึ้น

นอกจากฟันกรามแล้ว ฟันซี่อื่นในช่องปากก็มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุได้เช่นเดียวกันหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม วิธีหนึ่งในการดูแลสุขภาพช่องปากที่แนะนำ คือ การแปรงฟันอย่างถูกวิธีร่วมกับการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ อีกเหตุผลหนึ่งที่ฟันผุควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดเมื่อตรวจพบก็คือ หากเราปล่อยให้ฟันผุลุกลามไปมากจนต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป สำหรับผู้ใหญ่จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมทดแทนเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันล้มและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบดเคี้ยว แต่ถ้าเป็นฟันน้ำนมของเด็กหากต้องถอนก่อนที่ฟันแท้จะขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาฟันซ้อนแกในอนาคตได้ เนื่องจากฟันน้ำนมที่อยู่ข้างๆ ของฟันซี่ที่ถอนไปอาจล้มหรือเคลื่อนที่มาปิดช่องว่างของฟันที่หายไป ทำให้ขนาดช่องว่างที่เหลืออยู่เล็กเกินกว่าที่ฟันแท้จะขึ้นมาได้

วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับโรคฟันผุจะขึ้นกับระดับความรุนแรงของฟันผุ
ระยะที่ 1 : รักษาโดยการเคลือบฟลูออไรด์ร่วมกับแนะนำวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และการใช้ยาสี ฟันผสมฟลูออไรด์
ระยะที่ 2 : รักษาโดยการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันคอมโพสิท ซึ่งเป็นวัสดุเรซินที่มีสีใกล้เคียงกับฟัน แข็ง แรง ยืดหยุ่น และมีความสวยงามเนียนไปกับสีฟันธรรมชาติ หลังอุดฟันสามารถเคี้ยว อาหารได้ตามปกติ
ระยะที่ 3 : รักษาโดยการอุดฟันหรือรักษารากฟันหรือถอนฟัน ขึ้นกับความลึกของฟันผุ หากฟันผุมี ขนาดใหญ่หรือลึกมาก จำเป็นต้องมีการถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อช่วยประเมินระดับความลึก ของฟันผุก่อนอุด หลังจากเอกซเรย์แล้วหากฟันผุไม่ทะลุโพรงประสาทฟัน ก็สามารถทำอุดได้ โดยใช้ยาชาร่วมด้วยเนื่องจากจะมีอาการเสียวฟันมากขณะอุด แต่หากฟันผุทะลุโพรง ประสาทฟัน อาจพิจารณารักษารากฟันหรือถอนออก
ระยะที่ 4 : รักษาโดยการรักษารากฟันหรือถอนฟัน ขึ้นกับปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่ว่าสามารถทำครอบ ฟันต่อได้หรือไม่ และความต้องการของคนไข้



✨ หลังจากอุดฟันต้องทำอะไรบ้าง

1.ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟันเคี้ยวอาหารแข็ง เพื่อป้องกันการแตกหักของวัสดุอุดหรือเกิดความเสียหายต่อฟันได้
2.อาจมีอาการเสียวฟันเมื่อรับประทานอาหารท่ีร้อนจัดหรือเย็นจัด ภายหลังการอุดฟันควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว และอาการเหล่านี้ควรหายไปได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์
3.หากมีอาการเสียวฟันเวลาเคี้ยวอาหารภายหลังการอุด อาจเกิดจากวัสดุอุดฟันสูงเกิน แนะนำให้กลับมาพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อทำการแก้ไข หากปล่อยทิ้งไว้ไม่แก้ไขจะทำให้เกิดอาการปวด และอาจจะต้องรักษารากฟันหรือถอนออกในที่สุด โดยอาการเสียวฟันที่เกิดจากวัสดุอุดสูงจะเกิดเฉพาะตอนเคี้ยวอาหารเท่านั้น
4.หากวัสดุอุดฟันหลุดให้กลับมาอุดใหม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะฟันผุอาจลุกลามจนไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
5.ควรทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธีร่วมกับการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ
6.ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน